02 October 2008

Blue Ocean Strategy Book - เมื่อ BLUE OCEAN กลายเป็น RED OCEAN

Blue Ocean Strategy Books - CASE STUDY 11.0 :เมื่อ BLUE OCEAN กลายเป็น RED OCEAN

ผู้แต่ง/แปล : ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย และคณะ
ISBN : 9789740582946
Barcode : 9789740582946
ปีพิมพ์ : 1 / 2551
ขนาด (w x h) : 145 x 210 mm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 215 หน้า 0
ราคาปกติ : 180.00 บาท

เมื่อ Blue Ocean กลายเป็น Red Ocean

ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “กลักไม้ขีด” วารสารกรีนนิวส์ ฉบับที่ 69 กรกฎาคม 2551

ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แนวคิด Blue Ocean เป็นประเด็นด้านการตลาดที่มีกรกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง ล่าสุดดิฉันได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งแล้วเห็นว่าเนื้อหาน่าสนใจ จึงขอนำเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง

ความเป็นมาของแนวคิดทางการตลาด
Michael Porter นักการตลาดชื่อดังกล่าวว่าบริษัทสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึงเท่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเอาดีไม่ได้สักอย่าง กลยุทธ์ที่ว่าได้แก่

1. Low cost ผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ ทำให้สามารถขายได้ในราคาที่ถูกกว่ารายอื่น
2. Differentiation ขายสินค้าและบริการที่แตกต่างจากคู่แข่ง
3. เลือกเป็นผู้เล่นรายเล็กในอุตสาหกรรม และนำเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้าเล็ก ๆ ที่คู่แข่งรายใหญ่ไม่ต้องการลูกค้ากลุ่มนี้

แต่ W.Chan Kim และ Rence Mauborgne กลับมองว่าแนวคิดข้างต้นนำไปสู่ Red Ocean คือผลสุดท้ายจะหนีไม่พ้นการแข่งขันราคากัน จนนำไปสู่ผลกำไรลดลงทุกฝ่าย เขาจึงนำเสนอแนวคิด Blue Ocean ขี้นมา

Blue Ocean คือกลยุทธ์ในการสร้างตลาดใหม่ ที่ทำให้บริษัทมีต้นทุนที่ต่ำและมีความแตกต่างเหนือคู่แข่งได้พร้อมกัน และเนื่องจากการเป็นผู้สร้างตลาดขึ้นใหม่ จึงเป็นผู้เล่นรายเดียวทำให้ไม่มีการแข่งขัน

อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อบริษัทอื่นเห็นธุรกิจนั้นได้กำไรดี ก็จะมีการเลียนแบบเกิดขึ้นซึ่งถ้าป้องกันการเลียนแบบไม่ได้ จะนำมาสู่ Red Ocean อีกครั้ง ก็ต้องหา Blue Ocean ใหม่ต่อไป

กรณีศึกษา : เครื่องศึกษา The Body Shop
ในขณะที่เครื่องสำอางแบรนด์ดังทั่วไป จะเน้นผลิตภัณฑ์ที่สร้างแรงดึงดูดเชิงอารมณ์ (Emotional) เน้นการโฆษณา จ้างพรีเซ็นเตอร์ดัง ๆ ราคาแพง มี Packaging ที่หรูหรา ตั้งราคาสูงได้แม้ว่าบางผลิตภัณฑ์อาจไม่ได้เพิ่มคุณค่าในเชิง Functional มากนัก แต่ The Body Shop ผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางในแนวคิดที่แตกต่างออกไปนั่นคือ ลดความหรูหราของ Packaging ใช้เท่าที่จำเป็น ดูดี มีสไตล์ ไม่โฆษณาในสื่อใหญ่ ไม่จ้างพรีเซ็นเตอร์ราคาแพง และนำเสนอวิถีทางเลือกใหม่ที่ไม่ใช้สัตว์ทดลอง ซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บรรจุภัณฑ์ นำกลับมาใช้ใหม่ได้

มีแบรนด์เครื่องสำอางอื่น ๆ เลียนแบบแนวคิด The Body Shop ประกอบกับปัจจุบัน The Body Shop ได้ขายกิจการให้ L’Oreal Group ซึ่งมีแนวความคิดที่เป็นธุรกิจมากกว่า คงต้องติดตามกันงต่อไปว่าในอนาคต The Body Shop จะเป็นอย่างไร

ท่ามกลางสถานการณ์แข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น ท่านผู้ประกอบการคงต้องติดตามสถานการณ์ตลาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำแนวคิดทางการตลาดที่เหมาะสมมาปรับใช้กับกิจการ หากลยุทธ์ที่เหมาะกับตนเอง เหมาะกับลูกค้าและพื้นที่ของเรา เป็นสิ่งที่คนอื่นเลียนแบบได้ยาก ความสำเร็จก็จะตามมาอย่างไม่ลำบากเลย แล้ว Blue Ocean ก็จะไม่กลายเป็น Red Ocean ค่ะ

Tip
+ ผู้ที่สร้าง Blue Ocean จะต้องควบคุมชะตากรรม (destiny) ของตนเอง ไม่เช่นนั้นคนอื่นก็จะเข้ามาควบคุม
+ สิ่งที่ต้องระวังคือเมื่อ Blue Ocean ติดตลาดแล้ว นักลอกเลียนแบบ (Blue Ocean Copy Cat) จะกระโจนเข้าสู่ธุรกิจนั้นทันที ดังนั้น Real Blue Ocean เท่านั้นที่ยากจะลอกเลียน หรือถึงจะลอกเลียนได้ ก็เป็น Blue Ocean ที่ไร้จิตวิญญาณ
+ เพือไม่ให้ Blue Ocean กลายเป็น Red Ocean ได้ง่าย ๆ ให้ดูว่าคนอื่นเลียนแบบเราได้ง่ายหรือเปล่า
+ ยึดหลักการ Blue Ocean everyday keeps Red Ocean away”

จากหนังสือ “เมื่อ Blue Ocean กลายเป็น Red Ocean” โดยธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย และอาทิตย์ โกวิทวรางกูร

No comments: