นวัตกรรมด้วยวิธีคิดแบบBLUE OCEAN : สร้างนวัตกรรมด้วยวิธีคิดแบบ Blue Ocean
เมื่อลูกค้าเดิมเริ่มลดลง ลูกค้าใหม่ไม่ปรากฎ ท่านจะทำอย่างไร? ดั่งข้อคิดที่ว่า "ผู้แพ้เห็นปัญหาและซ่อนตัวเสีย ผู้ชนะมองเห็นโอกาสและสร้างกลยุทธ์" อ้างอิงถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสอนให้เราไม่ละเลยสิ่งที่มีอยู่ในตัว หากรู้จักนำมาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นสิ่งใหม่ ผ่านการทดลองและพัฒนาเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและส่วนรวม โดยคำนึงถึงโอกาสทางการตลาดที่เหมาะสม ก็เรียกได้ว่า เราได้สร้างนวัตกรรม(Innovation) จากภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้นแล้ว
วิธีคิดใช้นวัตกรรมเพื่อเปิดตลาดกลุ่มใหม่ ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มีการแข่งขันน้อย ทำกำไรได้ดี เรียกว่ากลยุทธ์น่านน้ำสีคราม(Blue Ocean Streategy) อันสะท้อนถึงขีดความสามารถในการปฎิบัติเชิงกลยุทธ์(Strategy Action Competency) ของนักบริหารสมัยใหม่ ที่จะช่วยให้ธุรกิจปรับตัวได้ดีท่ามกลางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ตรงกันข้ามกับกลยุทธ์แบบเดิมที่ เรียกว่า น่านน้ำสีแดง(Red Ocean) ซึ่งเน้นการแข่งขันกันในตลาดกลุ่มเดิมที่อิ่มตัวแล้วและตลาดไม่สามารถเติบโตขึ้นได้อีก จึงทำให้เกิดการแย่งลูกค้ากันโดยแข่งกันที่ราคาในที่สุด จะส่งผลทำให้ธุรกิจเหล่านี้ประสบปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้
ทักษะการคิดแบบน่านน้ำสีคราม(Blue Ocean Strategy)
ทักษะนี้เป็นการระดมสมองทีมงานผ่านการจินตนาภาพเชิงบวกในธุรกิจที่ทำอยู่ เพื่อค้นหาตลาดเฉพาะและสร้างคาวามแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ อันเป็นการเปิดตลาดใหม่ที่แข่งขันน้อย ทำให้ธุรกิจปรับตัวและอยู่รอดต่อไปได้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน
1.ตั้งคำถามเพื่อเปิดจินตนาภาพเชิงบวก (Positive-viewed Questioning) เป็นการเปิดโอกาสให้ทีมงานช่วยกันคิดนอกกรอบให้เห็นภาพปลายทางของกิจการที่ทำว่าอยากให้เป็นอย่างไร โดยตั้งคำถามว่า"หากตื่นขึ้นมาแล้ว พบว่าเป้าหมายที่ตั้งใจไว้สำเร็จ วันนั้นเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร" เช่น ร้านขายสินค้า "คนจะมาออกันเต็มร้าน เดินกันไปมา มือกดเครื่องเก็บเงินเป็นระวิง...."ซึ่งจะทำให้ทุกคนรู้สึกตื่นเต้นและกล้าคิดกล้าแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ และไอเดียบางอย่างจะผุดขึ้นมาอย่างไม่เคยนึกมาก่อนซึ่งนำมาปรับใช้ได้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้
2.ตั้งคำถามค้นเพื่อหาความแตกต่าง (Differentiation-focused Questioning) เป็นการถามต่อจากข้อ1 เพื่อค้นพบตลาดใหม่และสินค้าที่แตกต่างจากเดิมซึ่งอยู่ในศักยภาพที่เราทำได้ โดยถามว่า"ลูกค้าที่เข้ามาเป็นใครบ้าง?" ส่วนใหญ่เป็นใคร?" "เขาซื้อสินค้าอะไร?" "อะไรทำให้เขาซื้อสินค้าเรา แต่ไม่ซื้อสินค้าคนอื่น" ซึ่งจะทำให้เราเริ่มเห็นตลาดใหม่ สินค้าใหม่ที่ตรงความต้องการ แม้อาจไม่ใหญ่มาก แต่การแข่งขันมีน้อย จึงเหมาะกับกิจการ SMEs ที่ยังไม่สามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ในตลาดเดิมได้
3.ตั้งคำถามเพื่อดำเนินการจริง (Action-Oriented Questioning) เมื่อเรารู้ว่าตลาดใหม่และสินค้าใหม่ที่ตรงความต้องการของตลาดเป็นอย่างไรแล้ว เราก็รีบวางแผนการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าและบริการอย่างรวดเร็ว คล่องตัว ซึ่งเป็นจุดแข็งของ SMEs ที่เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว
ถ้าหากลูกค้าทุกคนหันมาซื้อสินค้าและบริการของท่าน ย่อมแสดงว่าท่านได้ก้าวพ้นจากน่านน้ำสีแดงแล้ว หรือว่ามีอะไรอีกที่ทำให้เขาเหล่านั้นทำเช่นนี้
(คัดลอกบทความจากคอลัมภ์ "พอเพียงฯ" นสพ.บิซวีค"
Source: http://www.sarinaccount.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=423044&Ntype=7
03 February 2008
นวัตกรรมด้วยวิธีคิดแบบBLUE OCEAN
Posted by Trirat at 2/03/2008
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment